สาขา งานวิจัย หน่วยวิจัย และผลงานวิจัย ของ ภาควิชาเคมี_คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาขาวิชาและงานวิจัย

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบ่งสาขาวิชาและงานวิจัยออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

สาขาเคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ ทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ ภาควิชาเคมีมีงานวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ อาทิ งานวิจัยทางด้านความปลอดภัยทางโภชนาการ การวิเคราะห์และติดตามสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม และการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์สารในปริมาณน้อยที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[49]

สาขาเคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry Division)

เป็นการสังเคราะห์และศึกษาสมบัติทางกายภาพของสารอนินทรีย์ โดยภาควิชาเคมีมีงานวิจัยทางเคมีอนินทรีย์ อาทิ การศึกษาสารประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination compounds) รวมไปถึงสมบัติการจับโมเลกุลชีวภาพ การผลิตเซ็นเซอร์และโฟโตคะตะลิสต์ (photocatalyst) และการศึกษาปฏิกิริยาในอุตสาหกรรม เช่น ปฏิกิริยาฟิชเชอร์-โทรปช์ (Fischer-Tropsch synthesis)[50][51]

สาขาเคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ศึกษาครอบคลุมเคมีของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ งานวิจัยของสาขาเคมีอินทรีย์ ได้แก่ การสกัดและแยกสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การสังเคราะห์สารที่มีความสำคัญทางการแพทย์โดยใช้วิธีการใหม่ ๆ นอกจากนี้ภาควิชาเคมียังมีงานวิจัยเชิงอินทรีย์เคมีชีวภาพ ซึ่งเป็นการศึกษาระบบทางชีวภาพโดยใช้ความรู้และกระบวนการทางเคมี เช่น การศึกษาปฏิกิริยาที่เร่งด้วยเอนไซม์ เป็นต้น[52]

สาขาเคมีอุตสาหกรรม (Industrial Chemistry Division)

เป็นหนึ่งในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านแหล่งพลังงานทางเลือก งานวิจัยเกี่ยวกับยางธรรมชาติ สิ่งทอและสีย้อม พอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้โดยทางชีวภาพ และงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์และอัญมณี[53]

สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ (Physical Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ว่าด้วยการอาศัยหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์มาอธิบายปรากฏการณ์ทางเคมี งานวิจัยสาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ของภาควิชาเคมีจะเน้นหนักไปทางการศึกษากลไลของปฏิกิริยาเคมีโดยใช้การคำนวณทางเคมีควอนตัม นอกจากนี้แล้วยังมีการสังเคราะห์ตัวเลขปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ และศึกษาแอคทิวิตี้ของตัวเลขปฏิกิริยานั้น ๆ รวมการทั้งสังเคราะห์วัสดุนาโน เช่น คาร์บอนนาโนทิวบ์ (carbon nanotube) และการปรับแต่งโครงสร้างระดับนาโนของคาร์บอนนาโนทิวบ์ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของยาเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้เคมีคำนวณ[54]

หน่วยวิจัย

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นอกจากห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ในสาขาวิชาต่าง ๆ ของภาควิชาเคมีแล้ว ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ความเป็นเลิศ ซึ่งประกอบไปด้วย

ศูนย์ความเป็นเลิศ (Centers of Excellence, COE)
  • ศูนย์นาโนเทคโนโลยี (The Center of Nanotechnology)

ศูนย์นาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ศูนย์แห่งนี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศนาโนเทคโนโลยีในด้านของการออกแบบและการจำลองวัสดุนาโน โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ประเทศไทย[55]

  • ศูนย์นวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC)
  • ศูนย์ความเป็นทางวิชาการด้านปาล์มน้ำมัน Center of Excellence-Oil Palm

และทางภาควิชาเคมียังประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย

ห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะด้าน (Special Research Units, SRU)
  • ห้องปฏิบัติการเคมีคำนวณและเคมีประยุกต์ (Laboratory for Computational and Applied Chemistry, LCAC) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยกลุ่มคณาจารย์และนักวิจัยในสาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ (Physical Chemistry) มีภารกิจในการศึกษาวิจัยกลไลของปฏิกิริยาเคมีโดยใช้การคำนวณทางเคมีควอนตัม การสังเคราะห์ตัวเลขปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ และศึกษาแอคทิวิตี้ของตัวเลขปฏิกิริยา สังเคราะห์วัสดุนาโนและปรับแต่งโครงสร้างระดับนาโนของคาร์บอนนาโนทิวบ์ สาขางานวิจัย ได้แก่[56][57]
    • Development and Application of Theoretical and Computational Methodologies
    • Catalysts and Supports
    • Carbon Nanostructures
    • Molecular Design of Bioactive Compounds
    • Ligand-Oriented Catalyst Design
  • ห้องปฏิบัติการวิจัยการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารปริมาณน้อย (Analytical Method Development in Trace Analysis) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2549 มีภารกิจในการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการและเซ็นเซอร์ในการวิเคราะห์สารในปริมาณน้อยที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขางานวิจัย ได้แก่[58]
    • Chemical food and safety
    • Chlorination and monitoring of some pesticides in raw water
    • Photocatalysis of some pesticides
    • Sensors for analytes of agricultural and environmental interest
  • ห้องปฏิบัติการเคมีสารสนเทศ (Cheminformatics Research Unit, CRU) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 มีภารกิจในการกำหนดทิศทางใหม่สำหรับการวิจัยทางเคมีด้วยวิธีการที่ปรับปรุงมาจากวิทยาการสารสนเทศ สาขางานวิจัย ได้แก่[59]
    • Molecular modeling
    • Molecular docking
    • Virtual screening
    • Drug design
    • Thai Herbal Repository Access Initiative
  • ห้องปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (Natural Products and Organic Synthesis, NPOS) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 มีภารกิจเพื่อส่งเสริมการวิจัยการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมถึงฮอร์โมนสเตียรอยด์ การศึกษาปฏิกิริยาและการสังเคราะห์โดยใช้โลหะทรานซิชัน และยังทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในปัจจุบันและโรคไข้หวัดนก สาขางานวิจัย ได้แก่[60]
    • Natural Products
    • Synthesis of bioactive compounds
    • Total synthesis of active steroids
    • Study on reactions and synthesis of bioactive compounds using transition metals
    • Structure-Activity Relationships (SARs) and Quality Control (QC) of plants
  • ห้องปฏิบัติการเคมีคำนวณทางยา (Innovative Research on Drug Discovery and Molecular Design) - มีภารกิจในการวิจัยการค้นพบยาและการออกแบบโครงสร้างยา สาขางานวิจัย ได้แก่[61]
    • Drug Discovery, Computer-aided Drug Design, Protein modeling
    • Cheminformatics, Bioinformatics, ADMET, Polymer modeling

ผลงานวิจัย

International Journal Publications (Year 2010-2019)
(Last Updated : 2019)
Dept./Sch.Year 2010Year 2011Year 2012Year 2013Year 2014Year 2015Year 2016Year 2017Year 2018Year 2019
Chemistry85877585816968655360
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[62]
ประเภทจำนวน
จำนวนทรัพย์สินทางปัญญา
จากภาควิชาเคมี มก.
ลิขสิทธิ์4
สิทธิบัตร2
อนุสิทธิบัตร7
รวม13
ข้อมูลจาก สวพ.มก.[63]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการแสวงหาและพัฒนาแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในระดับแนวหน้าทางด้านเคมี รวมทั้งมุ่งเน้นอย่างจริงจังในการจัดการกับปัญหาที่ต้องเผชิญกับทั้งสังคมไทยและสังคมโลก โดยได้พยายามทำการวิจัยในประเด็นยุทธศาสตร์และปัญหาระดับโลกและเล็งเป้าหมายหัวข้อวิจัยที่มีความสำคัญในอนาคต ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยจำนวนบทความกว่า 1,706 เรื่อง แบ่งเป็นตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ (International Journal Publications) และระดับชาติ (National Journal Publications) จำนวนกว่า 1,004 เรื่อง แบ่งเป็นบทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ (Conference) อีกจำนวน 702 เรื่อง ในประเด็นที่สำคัญดังกล่าว (ข้อมูลสถิติถึงปี 2562 จากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และได้รับรางวัลการวิจัยทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติหลายรายการ นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จำนวน 13 รายการ แบ่งเป็นประเภทลิขสิทธิ์ (Copyright) จำนวน 4 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2555, 2552, 2551, 2549) สิทธิบัตร (Patent) จำนวน 2 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2554, 2549) และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) อีกจำนวน 7 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2558, 2554, 2551, 2550, 2548) ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามในการจัดการกับความท้าทายที่สังคมมนุษย์ต้องเผชิญ

นอกจากนี้แล้ว ภาควิชาเคมียังส่งเสริมการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับความร่วมมือด้านการวิจัยระดับโลก โดยการส่งนิสิตเข้าทำวิจัยระยะสั้นยังมหาวิทยาลัยต่างประเทศ รวมทั้งเปิดหลักสูตรเคมี (นานาชาติ) ด้วย

ใกล้เคียง

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาควิชาเคมี_คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://maps.google.com/maps?ll=13.8454802,100.5714... http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailconten... http://ptg.listedcompany.com/misc/PRESN/20180425-p... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.8454... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thinsiam.com/archives/133597 http://chemistryolympiad.weebly.com/uploads/8/2/4/... http://www.globalguide.org?lat=13.8454802&long=100...